ลิฟวิ่งเกิดจากการรวมตัวกันของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคจิตเวช ได้แก่ ผู้ป่วยจิตเวช ผู้ปกครอง และจิตแพทย์ คุณหมอสมรัก ชูวานิชวงศ์ ลิฟวิ่งเป็นเพื่อนร่วมทางผู้ได้รับผลกระทบจากโรคจิตเวชสู่ชีวิตที่มีคุณค่ามีความหมายสำหรับตนเอง ครอบครัวและสังคม

โครงการพัฒนาสุขภาวะ
ภารกิจหลักของลิฟวิ่งคือ พัฒนาสุขภาวะของผู้มีประสบการณ์กับโรคจิตเวชและให้เขาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมอย่างมีศักดิ์ศรีและเท่าเทียม โครงการพัฒนาสุขภาวะจึงเป็นโครงการหลักของลิฟวิ่ง โดยเราเล็งเห็นว่า สุขภาวะมีหลายมิติ มีทั้งกาย จิตใจ สังคม จิตวิญญาณ สติปัญญา สิ่งแวดล้อม การงาน และการเงิน
ข่าวสารและกิจกรรม
ลิฟวิ่งร่วมกับภาคีเครือข่ายสร้างสรรค์กิจกรรมอันเป็นคุณประโยชน์ต่อสังคม เพื่อผู้ป่วยจิตเวชและคนพิการทางจิตสังคม
บริษัท ลิฟวิ่ง วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด (Living Social Enterprise Co., Ltd.)
ธุรกิจเพื่อสังคม แบรนด์ลิฟวิ่ง (Living) เป็นผลจากการพัฒนาสุขภาวะของผู้มีประเด็นทางด้านสุขภาพจิตและจิตเวช เรามุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพ จุดแข็ง ความสามารถของแต่ละบุคคล ให้เติบโตไปสู่ทักษะอาชีพ โดยทุกคนมีส่วนร่วมสร้างสรรค์ผลงานตลอดกระบวนการทางธุรกิจ พร้อมเชื่อมโยงคนในสังคมให้เข้าใจ และเข้ามามีส่วนร่วมแก้ปัญหาทางด้านจิตเวชอย่างยั่งยืน ลิฟวิ่ง วิสาหกิจเพื่อสังคมไม่ปันผลกำไรให้ผู้ลงทุน แต่จะนำรายได้ทั้งหมดสนับสนุนการพัฒนาสุขภาวะ...
สินค้าของเรา
ผลิตภัณฑ์ของเราเป็นผลงานสร้างสรรค์ของผู้ป่วยจิตเวช ผลกําไรทั้งหมดนํามาใช้ขับเคลื่อนภารกิจการพัฒนาสุขภาวะอย่างเป็นรูปธรรม และพัฒนาอย่างยั่งยืน
-
ราคา 450 บาท
โดยทีมเบเกอรี Living -
ราคา 190 บาท
ออกแบบโดย ศราวุฒิ ฉมามหัทธนา -
ราคา 540 บาท
ออกแบบโดย ศราวุฒิ ฉมามหัทธนา
เรียนรู้
ถ้าท่านต้องการข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับโรคจิตเวช และการคืนสู่สุขภาวะ เรามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
-
ไม่มีการเจ็บไข้ได้ป่วยใด ที่ทำให้ผู้มีประสบการณ์ตรงและคนรอบข้างเกิดความสงสัยในสิทธิความเป็นมนุษย์ของบุคคลนั้นเท่ากับโรคจิตเวช
เธอยังคิด ตัดสินใจได้ไหม เธอควรได้รับความเชื่อถึอไหม -
ทฤษฏีว่าด้วยองค์ประกอบของบริการแบบเน้นการคืนสู่สุขภาวะ (Recovery Oriented Service) มีหลายสำนัก แต่ส่วนใหญ่ก็คล้าย ๆ กัน คือ เน้นจุดแข็ง เป็นการดูแลแบบองค์รวม เสริมสร้างพลังอำนาจ
-
เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของการคืนสู่สุขภาวะ อันขาดเสียไม่ได้
เพราะโดยความหวัง เราจึงลุกขึ้นมารับผิดชอบ มากำหนดเป้าหมายและเส้นทางของตน -
คนที่มีประสบการณ์กับโรคจิตเวชแต่ละคน แม้ป่วยด้วยโรคเดียวกัน มีบางอาการในกลุ่มเดียวกัน ถึงกระนั้น แต่ละคนก็มีประสบการณ์ต่างกัน
-
เมื่อเราป่วยด้วยโรคจิตเวช เรามักงุนงงว่าเราเป็นอะไรนี่ เราป่วยจริงหรือ เราก็ปกติดีนะ คนอื่นสิที่แปลกไป มองเราแปลกไป ปฏิบัติต่อเราแปลกไป จนมีเหตุปัจจัยต่าง ๆ มาทำให้เราตระหนักในที่สุดว่า เราป่วยด้วยโรคจิตเวช เรายอมรับการรักษา รับการพัฒนาสุขภาวะจนเราทำภารกิจในชีวิตได้ดีไม่มากก็น้อย เราอยากคิดว่า ประสบการณ์เจ็บป่วยนั้น เป็นฝันร้ายที่ผ่านมาแล้วผ่านไป ต่อไปนี้เราจะปราศจากโรค
-
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ของทุกปี คือวันแห่งความรัก ( Valentine’s day ) สืบเนื่องจากผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมงานวันกอดสากล ( National Hug Day ) ซึ่งจัดขึ้นเมื่อ 21 มกราคมของทุกปี เพื่อเป็นการรณรงค์ให้แสดงความรักกันด้วยการกอด ผู้เขียนจึงอยากนำเสนอหนึ่งในวิธีการแสดงความรักในวันนี้ด้วยการกอด การกอดนอกจากเป็นการแสดงความรักแล้ว ยังช่วยบรรเทาความหวาดกลัว ช่วยเพิ่มความสบายใจ ช่วยบรรเทาความเศร้า ช่วยให้สุขภาพใจและกายดีขึ้น ในส่วนของการกอดที่ช่วยให้สุขภาพกายและใจดีขึ้น ผู้เขียนได้รับฟังเรื่องราวของพยาบาลท่านหนึ่ง ซึ่งดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย และหนึ่งในผู้ป่วยที่สำคัญของเธอคือสามี ซึ่งป่วยเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย เข้าสู่กระบวนการรักษา …